กว่าจะมาเป็น Animation 3D
วันที่โพสต์: 24/08/2018
โดย: THEZiiPZ ป

การ์ตูน Animation น่ะหรอ ไร้สาระ หลอกเด็ก

บางคนที่ไม่เข้าใจการ์ตูนมักจะคิดและพูดแบบนี้เสมอ

สมัยก่อนเพียงแค่เด็กอ่านหนังสือการ์ตูน คนก็คิดกันแล้วว่าเด็กนี่ไร้สาระ

คนไทยอีกจำนวนมากยังไม่รู้ว่า การ์ตูนนี่ล่ะที่จะปลูกฝังเด็กให้ไปในทิศทางแนวไหนก็ได้

แม้กระทั่งสร้างจิตสำนึกและระเบียบวินัย

,,

ขึ้นชื่อว่า Animation ก็มีหลายประเภท

ทั้ง 2 มิติ เอย 3 มิติ เอย stop motion เอย

แต่ไม่ว่าจะเป็น Animation ประเภทไหน ก็ล้วนมีขั้นตอนการทำที่ซับซ้อน

ต้องใช้เวลา ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ใช้แรงงานทั้งสิ้น

Animation บางเรื่องทำกันเป็น 10 ปี ฉายออกมาแค่ไม่กี่ชั่วโมง

บางเรื่องฉาย 3 นาที 5 นาที คนดูแปปเดียวก็คิดว่าทำง่าย แต่จริงๆแล้วยากมหันต์

ถ้าเป็นคนทำงานสายนี้ ก็จะรู้ว่าการทำ Animation ไม่ใช่เรื่องตลก

 

เอาล่ะ มาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่า

วันนี้จะมาเล่าถึงประสบการณ์ขั้นตอนการทำ Animation 3D ของหนู

เป็นเรื่องแรกเรื่องเดียวที่ทำจนจบ.....(เห็นไหมล่ะบอกแล้วว่ายากกก TwT)

เป็น Animation THESIS ที่สอดแทรกเนื้อหาความรู้ เพื่อให้เด็กที่ได้ดูได้ประโยชน์

เกี่ยวกับเรื่องโภชนาการอาหาร ที่ทุกวันนี้เป็นปัญหาใหญ่ของมนุษยชาติ แต่มนุษย์ก็ไม่เคยมองเห็น

ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพและการใช้ชีวิต และอาจจะลามไปถึงอายุขัย

มาดูกันเลยดีกว่า ว่ากว่าจะมาเป็น Animation เรื่องนึง มหาหินขนาดไหนนน~

 

PLOT

โดยเริ่มแรก ก็หนีไม่พ้น การคิด Plot เรื่อง

จะดำเนินเรื่องอย่างไร ตามหลักการเขียนบทปกติธรรมดาทั่วไป

ตัวละครในเรื่องจะมีบทบาทอย่างไร แล้วเป็นเรื่องทำนองไหน

โดยได้บทสรุปว่า เป็นเรื่องแนวแฟนตาซีนะ ตามที่วิจัยกับกลุ่มเป้าหมายมา

มีอัศวิน มีเจ้าหญิง มีภูติวิเศษ มีพลังวิเศษ ตามที่เด็กกลุ่มเป้าหมายชอบ

ดำเนินเรื่องง่ายๆเป็นเส้นตรง เพื่อให้เด็กเข้าใจง่าย เหมือนนิทาน

CHARACTER DESIGN

เมื่อได้เนื้อเรื่องแล้ว ก็มาเริ่มออกแบบตัวละครกัน ศึกษาข้อมูลว่าควรจะเป็นยังไง

เหมาะสมกับเนื้อเรื่องไหม ดูมีเอกลักษณ์หรือเปล่า โทนสีเข้ากันไหม

นิสัยแต่ละตัวเป็นยังไง อายุเท่าไหร่กันนะ ชอบทำอะไรไม่ชอบอะไร

ซึ่งในที่นี้ มีทั้งหมด 3 ตัวค่ะ

 

STORY BOARD

มีเรื่องแล้ว มีตัวละครแล้ว ก็มาวาด สตอรี่บอร์ดกันเถอะ! 

สตอรี่บอร์ดเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการทำ Animation

จะต้องเขียนมุมกล้อง การเปลี่ยนฉากใช้เทคนิคอะไร แต่ละฉากมีเสียงอะไร

ฉากนั้นใช้เวลาเท่าไหร่ ดำเนินตามเนื้อเรื่องที่เราเขียนไว้

มีฉากตัวละคร พร็อบประกอบ พร้อมเสร็จสรรพ

ขั้นตอนนี้ จะทำให้เราทำงานง่ายขึ้นในขั้นตอนต่อๆไป จึงจำเป็นและสำคัญมาก!

หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า มีอาชีพนักวาดสตอรี่บอร์ดด้วยนะ

ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการ์ตูน หนัง หรือโฆษณา ก็จะต้องมีสตอรี่บอร์ดกันทั้งนั้น

เพื่อให้มองเห็นภาพจำลองก่อนที่จะลงมือถ่ายทำจริงนั่นเอง

(ไม่ขอใส่รูปละกัน เราวาดบอร์ดได้แย่ว์มาก แฮ่ ;w;)

ANIMATIC

มีบอร์ดแล้วก็หนีไม่พ้นที่จะต้องมี Animatic

สตอรี่บอร์ดคือภาพนิ่งฉันท์ใด Animatic ก็คือสตอรี่บอร์ดแบบภาพเคลื่อนไหวฉันท์นั้น

มีการเคลื่อนไหวให้รู้จังหวะ หรือเรียกว่าการ Animate คร่าวๆ (หรือจะทำละเอียดก็ได้)

เพื่อกะเวลา กะจังหวะจะโคน ดูภาพรวมทั้งหมด ว่างานเสร็จออกมาเป็นแบบไหนนะ

ขั้นตอนนี้ก็สำคัญ หากเราทำ Animatic ดีเป๊ะพร้อม

ขั้นตอนต่อไปเราก็จะทำงานง่ายขึ้นมากๆ เพราะฉะนั้นไม่ควรละเลยอย่างยิ่ง

(ซึ่งบางทีเราก็ละเลยกันไป นี่ไงเลยไม่มีมาให้ดูเลย 5555)

MODEL

เรื่องพร้อม คาแรกเตอร์ตัวละครพร้อม สตอรี่บอร์ดพร้อม แอนิเมติกพร้อม

จะรออะไรอีกละ ขึ้นโมเดลโลดดด

สำหรับ Animation 3D เราก็ต้องมาขึ้นโมเดลกัน

ใครใคร่ใช้โปรแกรมอะไรก็ใช้ ที่ได้ยินกันส่วนมากก็มักจะเป็น MAYA / 3DS MAX

แต่เดี๋ยวนี้พัฒนากันไปมาก cinema 4d / Zbrush อะไรก็ได้ที่ทำโมเดลได้

ในที่นี้ใช้ MAYA นะคะ มาๆๆ ขึ้นโมเดลกัน!

เอาล่ะก่อนอื่น ไปวาดเทิร์นเทเบิ้ลมาก่อน 

อะไรนะ!? หมุนโต๊ะหรอ ไม่ใช่ค่าา งั้นเป็นเครื่องดนตรีไว้แสคซแผ่นหรอ ผิชชชชค่าา

อาจจะเรียกได้อีกว่า character sheet หรือ model sheet หรือ Blueprints Characters 

ซึ่งจะมีรูปด้านหน้า ด้านข้าง ด้านหลัง 45 องศา ให้เราได้ดูครบทุกด้าน

เพื่อจะได้ปั้นออกมาได้รูปทรงตามที่เราต้องการและออกแบบไว้นั่นเอง

ต้องฝึกวาดดีๆนะคะ ใครไม่แม่น มองภาพ 2 มิติ ให้เป็น 3 มิติ ไม่ได้นี่งานยากเลย

(เช่นเราเป็นต้น ฮือออออ) โดยในที่นี่จะใช้ภาพ front และ side โยนเข้าโปรแกรมไปเลย!

แล้วก็ขึ้นลูกกลมๆมาทำหัวกันค่ะ ฮึ่บ!! (ส่วนยากสุดของการปั้นคนคือหัวกับมือน่ะเอ้อ)

ทุบๆ ดึงๆ บีบๆ อัดๆ ลากเส้น เพิ่มจุด สมานฉันท์ จนสุดท้ายได้ออกมาเป็นแบบนี้แลล

พยายามดูภาพด้านหน้าและด้านข้างให้โมเดลเราตรงแบบที่วาดไว้ ค่อยๆปั้นกันไป

หากชำนาญแล้ว ตัวนึงคงใช้เวลาไม่นาน

หูยยย กว่าจะเสร็จเป็นตัวววว เหนื่อยไม่ใช่เล่นเลยค่ะ

ถามว่า เอ ทำไมต้องยืนกางแขนแบบนี้นะ โดนครูทำโทษหรือ

ไม่ได้โดยครูระเบียบใจร้ายที่ไหนทำโทษนะคะ ที่จัดให้ยืนในท่านี้

เพราะว่าให้สะดวกต่อการเซตกระดูกในขั้นตอนต่อไป

อาจจะกางแขน 90 องศา หรือ 45 องศาก็ได้ แล้วแต่ความยากง่ายและกระดูก

อะไรนะโมเดลก็มีกระดูกหรอออ ใช่ค่ะมีกระดูกเหมือนคนเลย เพื่อการเคลื่อนไหว

แล้วเดี๋ยวเรามาดูกันในขั้นตอนต่อๆไปค่ะ

เอาล่ะ เมื่อกี้ตัวเทาๆ ไม่สวยใช่ม้า

มาใส่ลายตารางกันหน่อย ขั้นตอนนี้เรียกว่าการกางยูวีค่ะ (ต้องทากันแดดม้ายยยยย ถีบ-----)

 UV mapping คือเหมือนกับเราตัดแยกชิ้นส่วนโมเดลมา จาก 3 มิติ ให้เป็น 2 มิติ

สนุกเหมือนทำแบบผ้าเลยยย (กัดฟัน) ต้องใช้ความคิดว่าจะตัดยังไงดีน้า ไม่ให้ยืดไม่ให้ย้วย

รอยต่อตรงไหนดีน้าที่จะได้ไม่เห็นชัด เพื่อที่เราจะสู่ขั้นตอนการใส่ texture ให้โมเดลมีสีขึ้นมาไงล่ะ!!

แล้วที่ต้องใส่ตารางมีตัวเลขหรือตัวอักษรกำกับ ก็เพื่อเช็คดูว่า

UV เรากางถูกไหม กลับด้านรึเปล่า ยืดไหม ย้วยไหม เวลาใส่ texture จะได้สวยงามตามท้องเรื่อง

กางเสร็จ ก็ export ออกมาเป็นแผ่นๆอย่างนี้เลยจ้า เอ้ากระดาษมันขาวระบายสีกันหน่อยเนอะ

ในที่นี้เอามาละเลงใน Photoshop ที่คุ้นเคยกันค่ะ

ลงสีๆๆๆ จำให้ได้ด้วยนะคะ ชิ้นส่วนไหนไปเป็นอะไร

ถ้าไประบายผิดนี่มีฮาแน่นอน 55555

ระบายสีเสร็จแล้วก็เซฟภาพนั้นกลับมาที่โปรแกรม MAYA ค่ะ

ใส่ไปเล้ยยย เป๊ะๆๆ

อย่างนี้ อย่างนี้  เรียกว่าการใส่ texture ค่ะ

โยงใยกันเป็นแผนผัง นั่นอะไรรรร กลมๆนั่นอะไรร นั่นสิคะ 5555 จะให้อธิบายก็แลดูยาก

เอาเป็นว่า hypershade ก็คือสิ่งที่เราจะใส่ texture ลงไปค่ะ

จะมีพื้นผิวให้เลือกหลากหลายในลักษณะของลูกกลมๆ

มันเลื่อมวาป ผิวด้านๆ น้ำใสๆ มันแบบโลหะ มีเยอะแยะแล้วแต่จะชอบ

เลือกมาเสร็จเราก็ใส่ texture ที่เราระบายสีนั้นลงไปค่ะ

โดยตัวโมเดลเราจะจำค่าที่เรากาง UV ไว้ในขั้นตอนก่อนหน้านี้

ภาพและสีจึงตรงตามตำแหน่งที่เราต้องการเลย

ซึ่งนอกจากการใส่ texture แล้ว โมเดลบางอย่างที่ง่ายๆ เช่น กำไลข้อมือ

เราไม่ต้องกาง UV ให้ยากเย็นก็ได้ เพราะไม่มีอะไรจะต้องระบายละเอียด

เราก็ใส่ shade ลงไปเลย (ไอ้ลูกกลมๆผิวมันๆด้านๆแล้วแต่เราจะเลือกนั่นล่ะ)

แล้วปรับสีเอาตามต้องการ ความมันวาว แสงเงา เรืองแสง ปรับได้หมดเลยจ้าาา

โมเดลเสร็จล๊าวววว!! เย่!!!

Blend Shape

โมเดลเสร็จแล้วยืนนิ่งเลย หน้าเดียวด้วย ไม่ได้ๆๆๆๆ

มาขั้นตอนนี้เลย เรามาใส่อารมณ์หน้าตาท่าทางให้ตัวละครของเรากันเถอะ

Blend Shape คือการทำหน้าตาอารมณ์ของตัวละคร

แน่นอนเราต้องกำหนดตามลักษณะนิสัยและบุคลิกของคาแรกเตอร์เราไว้แล้ว

ซึ่งเราจะต้อง copy หัวของตัวละครเราแยกออกมาตามจำนวนหน้าตาอารมณ์ที่เราต้องการ

ยิ้ม โกรธ ร้องไห้ หลับตา ลืมตา ปากพูด A E I O U ต้องมีหมด

ใครใคร่ทำน้อย แสดงอารมณ์น้อยก็ทำน้อย

ใครใคร่ทำเยอะ แสดงอารมณ์เยอะก็ทำเยอะ

เพื่อให้ตัวละครของเราแสดงอารมณ์ออกมาได้ตามต้องการนั่นเอง

ดัดหน้ากันไปจ้า เหมือนตอนเราปั้นโมเดลขั้นตอนแรกเลย

ดึง ทุบ โขก สับ ดั่งทำ ศัลยกรรม 5555 เอาให้ครบทุกตา ทุกปาก ทุกคิ้ว

ทำปากนี่บอกเลยว่าฮา ถ้าคุณไม่มีแบบมา ต้องมานั่งส่องกระจกอ้าปากดูเอง

ละดัดโมเดลตามนั้น ทำจนน้ำลายไหลย้อยเลยจ้าาา

เมื่อดัดหน้าร้อยหัวพันหน้าเสร็จแล้ว ก็ Blend Shape กับหัวหลักเลยยย

Blend Shape เสร็จ สามารถลบร้อยหัวที่ทำไว้ออกได้ถ้าเกะกะ แต่ถ้าลบแล้วแก้ไขหน้าไม่ได้แล้วนะ

แต่ถ้าเผื่อจะแก้ไขหน้าอีก ก็ซ่อนไว้ได้ค่ะ กลายเป็นมนุษย์พันหน้าไปแล้ววว

อะทำแผงควบคุมไว้ซะหน่อย จะได้ง่ายเวลา Animate ย่อชื่ออะไรไว้ จำให้ได้ด้วยนะ ดึงผิดดึงถูก

มาลองหยักคิ้วหลิ่วตากันดู ลูกสาวใครถูกใจจริงๆๆๆ ส่งสายตาปิ๊งๆๆๆๆ

ตัวนี้ตัวหลัก แสดงสีหน้าเยอะหน่อย โว้กกก ว้ากกกก

เจ้าหญิงน้อยชีวิตดราม่า งืองืออออ

และสุดท้าย เจ้าภูตตัวน้อยนั่นเอง

RIGGING

หยักคิ้วหลิ่วตาได้แล้ว แต่ตัวยังนิ่ง เอ๊ะๆ ได้ยังไง

ขั้นตอนนี้เรามาทำให้ตัวขยับได้กันเถอะ

โดยเราเรียกว่าการ Rigging คือเราจะ set ค่า ใส่กระดูกกันเน้อ

เอาเนื้อหนังมังสามาเลยยย ใส่ลงไปกระดูกครึ่งตัววว

อันนี้เป็นกระดูกสำเร็จนะ มีมาให้แบบนี้เลย ถ้าอยากแอดวานซ์ จะใส่เองทีละข้อก็ได้

ซึ่งเราต้องเรียนรู้ (ยังกะเรียนกายวิภาคแน่ะ TT)

ว่ากระดูกส่วนไหนเรียกว่าอะไร ตรงไหนสำคัญ ตรงไหนใช้เคลื่อนไหวอวัยวะอะไร

Rigging เป็นศาสตร์นึงของ animation ที่ค่อนข้างยาก (มากกกกกกกกกกกกก)

ต้องลองนึกภาพดูว่ามันไม่ได้มีแค่คนหนิที่ต้องเคลื่อนไหว กระดูกสำเร็จคนโอเคเขามีมาให้ทางลัด

แล้วพวกสัตว์ประหลาดต่างๆที่สร้างขึ้นมาจากจินตนาการล่ะ ข้าวของเครื่องใช้ที่เคลื่อนไหวได้ล่ะ

ต้องใช้ทักษะการคิดคำนวน บางทีต้องใส่เป็นโค้ดเลยนะเอ้อ

ซึ่งในวงการ Animation เองก็ยังขาดคนที่เชี่ยวชาญในหน้าที่นี้อยู่มาก

ใครชอบรีบเรียนด่วน รับรองเป็นที่ต้องการของตลาดแน่ๆ!!

ปิดสีชุดไปก่อน หนักเครื่องเนาะ

อะๆ มาเป็นตัวแล้ว ขนาดกระดูกปรับได้นะคะ ถ้าอยากเห็นชัดๆ

ซึ่งระบบกระดูกนี่แบ่งแยกไปอีก เป็นการควบคุมแบบ FK และ IK ซึ่งไม่ขอลงลึกรายละเอียดเนาะ

ริกเสร็จก็ต้องมา paint weight กันค่ะ

เนื้อติดกับกระดูกแล้วใช่ม้า แต่! บางทีมันก็ไปติดกับกระดูกชิ้นที่เราไม่ต้องการ

เช่น เนื้อตัวไปติดกับกระดูกหัว พอขยับหัว เอ้าตัวไปด้วย ซึ่งจะเป็นปัญหาเวลา Animate

เราจึงต้องมีขั้นตอนการ เพ้นเวทนะคะ เพื่อลบเนื้อที่ติดไม่ถูกที่ถูกทาง

ไปให้มันเกาะกับกระดูกที่ถูกชิ้น เวลาเคลื่อนไหว ตัวโมเดลจะได้ไม่ยืด

ต้องดูกระดูกทุกชิ้นเลยว่าไปติดกับเนื้อผิดส่วนหรือเปล่า

ทดสอบง่ายๆโดยการลองขยับโมเดลในท่าต่างๆ

เพ้นกันไปอย่างเมามัน มือหงิกกันไปข้างงง เฮฮฮ

ทดสอบการเคลื่อนไหวดูค่ะ อุ ขยับได้แล้วเน้อออ

หน้าก็ได้ ตัวก็มา โพสท่าซักหน่อย แชะ!

ANIMATE
กายพร้อมใจพร้อมแล้วรออะไรล่ะ Animate เลยยยย

แอนิเมทคืออะไร เหมือนค๊อฟฟี่เมทหรือเปล่า เย้ยย

แอนิเมทคือการเคลื่อนไหวค่ะ เหมือนที่เราเรียกการ์ตูนแบบญี่ปุ่นว่า อนิเมะ ก็น่าจะมาจากรากศัพท์คำนี้

เคลื่อนไหวไปตามเนื้อเรื่องที่เราแต่งไว้ ปากก็ขยับตามเสียงที่เราพากษ์มา

แอนิเมทก็มีกฏอยู่เหมือนกัน เรียกว่ากฏ 12 ข้อ

ซึ่งก็ไม่ขอลงลึกไว้อีกแล้ว 5555 ขออธิบายง่ายๆกันดีกว่า

การแอนิเมท เราก็ต้องทำอย่างมีจังหวะ ที่เห็นการ์ตูนแอนิเมชั่นในทีวีก็ดี โรงหนังก็ดี

บางเรื่องดูขัดหูขัดตาแข็งๆ บางเรื่องก็พริ้วไหวซะเราเคลิ้มคล้อยตาม

บางเรื่องก็เหมือนคนจริงๆ บางเรื่องก็แอคติ้งโอเวอร์เหมือนการ์ตูน

นี่เกิดจากการแอนิเมททั้งสิ้นค่ะ หากเราแอนิเมทดีๆ แน่นอนคนดูก็จะลื่นไหลไปตามเรา

ดูไม่ขัดหูขัดตา ใครที่เริ่มต้นแอนิเมทใหม่ๆ อาจจะดูแล้วติดๆขัดๆ (เช่นเราเป็นต้นTwT)

ทีนี้เราก็แอนิเมทตามเรื่องราวที่เราวางไว้ตอนแรกเลย

จะให้ง่ายหน่อยก็แอนิเมทตาม shot ที่เราทำ animatic ไว้

ซีนไหนใช้เวลาเท่าไหร่ ตัดภาพตรงไหน แอนิเมทเผื่อไว้ตอนตัดต่อหัวท้ายซักหน่อย

ขั้นตอนนี้ก็ต้องใช้เวลาพอสมควรค่ะ

บางทีแอนิเมทแค่ขยับแขนเนี่ย ดูแล้วดูอีกแก้แล้วแก้อีกเป็นสัปดาห์เป็นเดือนเป็นปีก็มีนะเธอววว์

ซึ่งจะบอกว่า 1 วินาที ต้องขยับถึง 25 ภาพ (มาตรฐานเฟรมเรท)

เพราะฉะนั้นกว่าจะได้แต่ละนาทีของ Animation ไม่ใช่เรื่องง่ายจริงๆเลยขอบอก

LIGHTING

แอนิเมทเสร็จเรียบร้อยแล้วอย่างทรหดอดทนแล้วทำอะไรต่อ

ภาพยังไม่สวยนาาา ต้องจัดแสงค่ะ

จัดเลยเหมือนเราจัดไฟสตู หรือจัดไฟถ่ายหนังถ่ายละคร

ส่วนมากง่ายๆก็ใช้หลักการ ไฟ 3 ดวง มีแสงแอมเบี้ยนนิดหน่อย

แสงในร่ม แสงกลางแจ้ง แสงกลางคืน แสงกลางวัน

สีสัน อุณหภูมิ อารมณ์แต่ละฉาก เราก็ต้องจัดให้เหมาะสม

ไฟก็มีให้เลือกอีกหลายชนิด sun light เอย sport light เอย ต้องเลือกใช้ให้เป็น

ศึกษาให้ดี มีปรับเงาปรับความฟุ้งปรับสีอีก กว่าจะออกมาสวยซักฉาก

บอกเลยว่าหิน แสงเป็นสิ่งนึงที่จะช่วยให้งานออกมาดีหรือดับได้เลยทีเดียว

RENDERING

ถามว่าจัดแสงแล้วยังไม่จบอี๊กกกกกกหรออออ

ใช่ค่ะ จะจบได้ยังไง เมื่อมันยังอยู่แค่ในโปรแกรม

เราต้องเรนเดอร์ออกมาค่ะ ขั้นตอนนี้เรียกว่า Rendering หรือการประมวลภาพ

ประมวลออกมาเป็นภาพๆ ดังที่ได้บอกว่า 1 วินาที มี 25 ภาพ

แล้วจึงนำไปเรียงต่อกันในโปรแกรมตัดต่อเพื่อออกมาเป็น Animation

ซึ่งการเรนเดอร์ก็มี pass แยกออกไปอีกเป็น10!! เรียกว่า render pass

ซึ่งแล้วแต่คนจะใช้ pass ไหนๆ แต่ถ้าใช้ครบหมดก็จะสวยงามอลังกาลเลอค่า

แต่!! คุณต้องมี render farm นะ ไม่งั้นงานไม่เสร็จแหงๆ

เพราะการเรนเดอร์ใช้เวลาอย่างมากค่ะ

ยิ่งแสงเงาเยอะ การกระทบการชิ่งแสง รายละเอียดโมเดลนั่นนี่ ต้องใช้การคำนวนทั้งสิ้น

สมมุตว่าภาพภาพนึงใช้เวลาเรนเดอร์ 5 นาที  1 วินาที มี 25 ภาพ

แถมเรนเดอร์แยกไปอีก 8 pass ใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผล 1 เครื่อง

ถ้าทำ Animation 1 ชม. ต้องเรนเดอร์กี่ปีกี่เดือนกี่วัน?? 5555

เพราะฉะนั้นการทำ Animation เรื่องนึง แน่นอนสิ่งที่ขาดไม่ได้ คือ render farm ค่ะ

เรียกง่ายๆว่าฟาร์มคอมพิวเตอร์นั่นเอง อาจเป็นห้องห้องนึง เปิดแอร์ให้คอมทำงานทั้งปีทั้งชาติ

อย่างนี้ๆเป็นต้น

ขอบคุณภาพ render pass จาก http://www.microfilmmaker.com/2012/05/mentalcore/

EDITOR

เป็นภาพแล้วยังไงต่อ ดูได้เลยไหมงานเรา

ยังค่าาาา ภาพสดๆดูไม่ได้นะ เหมือนกับเรามีวีดีโอที่ถ่ายมา แต่ยังไม่ได้ตัดต่อนั่นแล

เราก็ต้องเอาภาพแต่ละซีนที่เราเรนเดอร์ออกมาแล้ว

มาตัดต่อตามเนื้อเรื่องเราที่ทำเป็นสตอรี่บอร์ดและ Animatic ไว้

ตัดต่อตามเวลาและสิ่งต่างๆที่กำหนดไว้แล้ว

นำ pass ต่างๆที่เรนเดอร์มารวมกัน

ตัดต่อใส่แสงสีเสียงให้พร้อม เราจะมาจบงานกันที่ขั้นตอนนี้

เอฟเฟคอะไรต่างๆก็ใส่เพิ่มเติมได้ในขั้นตอนนี้

เครดิตต่างๆใส่ได้ในขั้นตอนนี้ทั้งหมดเลย

อู้วววว เสร็จซะทีๆๆๆๆๆ!!!! เสร็จออกมาเป็นงานละจ้าาาา

แหะๆ และนี่ก็คือ Animation 3D ของหนู!!!!

แอบเขินน่ะ (/v\)

เป็นงานที่ผ่านขั้นตอนทั้งหมดที่ได้ว่ามาไว้ข้างต้นโดยสังเขป

ซึ่งกว่าจะเป็น Animation เรื่องนึงไม่ใช่เรื่องง่ายเลยจริงๆค่ะ ทำแทบเป็นแทบตาย

ซึ่งในโลกแห่งการทำงานจริง งาน Animation จะแบ่งเป็นหน้าที่นะคะ

ไม่ใช่ทำทุกขั้นตอนคนเดียวแบบนี้ TwT

ใครมีความเชี่ยวชาญด้านไหนก็ทำงานด้านนั้นไปเลยด้านเดียว

แต่ถ้าบริษัทเล็กๆ คุณอาจต้องทำได้หลายๆอย่าง และช่วยกันทำ

ใครสนใจที่จะก้าวเดินในหนทางเส้นนี้ ก็ขอให้สู้กันต่อไป

ตัวหนูเองก็จะสู้ต่อไปค่ะ ^____^

ประเภท: บันทึก

บล็อกที่น่าจะชอบ

17/01/2018
เอกลักษณ์โดนเด่นเฉพาะตัวเป็นสิ่งหนึ่งที่ดึงดูดความรัก ความชอบจากบรรดาแฟนมังงะ อนิเมะให้สนใจในตัวละครและติดตามเรื่องราวนั้นต่อไป เพราะยิ่งถ้าเนื้อเรื่องสนุกแล้วยังมีตัวละครที่ชอบ ความสนใจในการติดตามจะมีมากยิ่งขึ้นด้วย ใช่ว่าพระเอกหรือตัวเอกของเรื่องจะเ
06/10/2017
  เดี๋ยวนี้มีอนิเมะใหม่ๆงอกมาจนแอดตามไม่ทันแล้วพี่บัวลอย มันก็คงจะไม่แปลกนะ ถ้าจะมีตัวละครที่หน้าตาคาแรคเตอร์คล้ายๆกันบ้าง คือแบบ ดูเรื่องนี้อยู่ พอตัวนี้โผล่มา มันก็ชวนให้นึกถึงอีกคนจากอีกเรื่องเฉยเลยยยย แอดกับเพื่อนๆก็เคยคุยเล่นกันว่า พวกนี้แม่งเป็
01/03/2018
ช่วงนี้ต้องทำบรัชไว้ใช้เอง เลยแคปภาพมาทำฮาวทูนิดหน่อย บรัชในคลิปสตูถ้าสร้างเองได้ะสะดวกมากค่ะ จะได้ไม่ต้องวาดใหม่ตลอด วิธีสร้างก็ไม่ยากตามนี้ค่ะ... ก่อนอื่นก็วาดรูปที่ะใช้ทำบรัชค่ะ ถ้าจะใช้เวลาหน่อยก็ตรงนี้ล่ะ lol อันนี้เราอยากได้ดอกคูน ปลิวๆ เลยวา
06/12/2016
ยังคงเป็นอีกหนึ่งปัญหา สำหรับนักเขียนการ์ตูนมือใหม่ ที่หลังจากได้คิดเรื่องที่จะนำมาเขียนการ์ตูนแทบหัวระเบิด พอได้พล็อตเรื่องที่อยากจะเขียนแล้ว ไปหาข้อมูลในเรื่องที่อยากจะเขียนมาพอสมควรแล้ว กลับเขียนไม่ออกไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นเขียนอย่างไรดี นั้นนะซินะ... เร
ส่ง
ความคิดเห็น ()