กว่าจะได้เป็นนักเขียนการ์ตูน บทที่1 : ตอนที่ 1 : มารู้จักคำว่า "การ์ตูน" กันก่อน
วันที่โพสต์: 23/02/2015

บทที่1 เขียนเรื่องให้ได้เรื่อง

ตอนที่ 1 : มารู้จักกับคำว่า “การ์ตูน” กันก่อน

                เป็นอย่างไรบ้างครับ หลังจากที่เราสำรวจตัวเองจาก “บทนำŽ” ไปแล้ว ถึงคุณสมบัติหลักๆ ของผู้ที่อยากมีอาชีพเป็นนักเขียนการ์ตูน ทั้งเรื่องของเวลาและการรับผิดชอบŽ, เรื่องของจินตนาการŽ และ เรื่องของศิลปะŽ หากคุณคิดว่า 3 หัวข้อนี้คุณสามารถทำได้อย่างสบายๆแล้วละก็ แสดงว่าตอนนี้คุณได้เป็น "ว่าที่นักเขียนการ์ตูนคนใหม่ของประเทศไทย" ไปแล้วครึ่งนึงครับ เอาละ ถ้าอย่างนั้นเรามาดูข้อมูลตอนต่อไปกันเลย...              

                ก่อนที่เราจะไปเขียนการ์ตูนกัน เรามาทำความรู้จักกับคำว่า “การ์ตูน” กันก่อนดีไหมครับ นักเขียนหลายท่านอาจจะรู้เรื่องตรงนี้เป็นอย่างดีแล้ว เดี๋ยวจะกลายเป็นว่า ผมเอามะพร้าวห้าวมาขายสวน เอาเป็นว่าผมขอบอกเล่าตรงนื้นักเขียนมือใหม่ก็แล้วกันนะครับเผื่อว่ายังไม่รู้กัน  หรือว่านักเขียนบางคนอาจจะลืมๆกันไปแล้ว ก็ลองมาอ่านดู

                ผมเคยไปสัมมนาเรื่องที่เกี่ยวกับการ์ตูนกับ Dr.John ALent ซึ่งท่านเป็น Prof หรือ ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องของการ์ตูนทางฝากเอเขีย จาก Temple University ซึ่งทางกรุงเทพมหานครเป็นผู้จัดมาแล้ว พอจะสรุปคราวๆ สั้นๆ ของคำว่า การ์ตูนŽ ได้ว่า... 

การ์ตูน

: คือ การ “วาดภาพ” ในลักษณะที่เป็นลายเส้น หรือจุดที่นำมาเรียงๆกันจนเกิดเป็นภาพขึ้นมา ในภาพจะประกอบไปด้วยอะไรก็แล้วแต่ แต่ต้องเป็นภาพๆเดียวกัน อยู่ในกรอบ(ช่อง) เดียวกัน ภาพที่วาดเสร็จแล้ว หรือหยุดวาดแล้ว เราจะเรียกว่า “ภาพวาด” หรือ "ภาพการ์ตูน"Ž  เช่น การ์ตูนกรอบเดียว ที่เป็นการล้อเลียนการเมือง ตามหน้าหนังสือพิมพ์ต่างๆ  หรือ การ์ตูนกรอบเดียว จากหนังสือประเภทตลกขบขัน  หรือที่อยู่ใน Ookbee นี้ให้เราเลือกไปที่หัวข้อ "ภาพวาด"Ž ก็จะเห็น "ภาพการ์ตูน"Ž ทันทีเลยครับ เป็นต้น

 

    

นี้ไงครับ ภาพการ์ตูน1.ภาพการ์ตูนจากคุณ วิเชียร แซ่ลี้  2.ภาพวาดจากน้องฝ้าย ผู้เขียนการ์ตูนเรื่อง "ศาสตราอสูร" 3.ภาพวาดจากน้องที่มาฝีกงานครับ

         การนำเอา “ภาพการ์ตูน” ที่มีลักษณเป็นเรื่องเดียวกัน มาเรียงต่อๆกันเป็นช่องๆ จะเรียกว่า “การ์ตูนช่อง” หรือบางคนเรียกการ์ตูนประเภทนี้ว่า “การ์ตูนแก๊ก” โดยปกติแล้ว การ์ตูนช่อง จะเป็นเรื่องเดียวกันที่จบเรื่องภายใน 3-4 ช่อง จึงมีบางคนเรียกการ์ตูนชนิดนี้ว่า “การ์ตูน 3 ช่องจบ”, “การ์ตูน 4 ช่องจบ”  ส่วน 2 ช่อง หรือ 5 ช่องขึ้นไปก็ทำได้ แต่มีส่วนน้อย ส่วนมากจะเป็น 3-4 ช่องมากกว่า

การ์ตูนที่แบ่งเป็นช่องๆ แล้วจบภายใน 1 หน้า หรือไม่เกิน 5 หน้า เรียกว่า "การ์ตูนช่อง"

 

          การนำ “ภาพการ์ตูน” ที่เป็นเรื่องเดียวกัน นำมาเรียงเป็นช่องๆ ต่อกันอย่างต่อเนื่อง โดยหนึ่งหน้าจะมีหลายช่อง และมีหลายหน้ากว่าจะจบ แต่ไม่เกิน 100 หน้า (โดยประมาณ/คำนวณจากจำนวนเพลด1) จะถูกเรียกว่า  “การ์ตูนขนาดสั้น” หรือ “การ์ตูนสั้น”  การ์ตูนพวกนี้ เช่นการ์ตูนเล่มล่ะบาท หรือ ปัจจุบันเป็นเล่มแล้ว 5 บาท แล้ว เป็นต้น

การ์ตูนที่มีความยาวของหน้าไม่เกิน 100 หน้า มักจะนิยมเรียกว่า "การ์ตูนสั้น" หรือ "การ์ตูนขนาดสั้น"

 

          ส่วนการ์ตูนที่เป็นเรื่องเดียวกัน  นำมาเรียงเป็นช่องๆ ต่อกันอย่างต่อเนื่อง โดยหนึ่งหน้าจะมีหลายช่อง และมีหลายหน้ากว่าจะจบ  โดยมีมากกว่า  101 หน้าขึ้นไป (โดยประมาณ/คำนวณจากจำนวนเพลต) แต่ไม่เกิน 1000 หน้า  จะถูกเรียกว่า “การ์ตูนเรื่องสั้น” และตั้งแต่ 1000 หน้าขึ้นไป จะถูกเรียกว่า "การ์ตูนเรื่องยาวŽ"

 

** การ์ตูนที่อยู่ประมาณ เล่มเดียวจบ -  5 เล่มจบ (หนึ่งเล่มประมาณ 180 หน้า ไม่เกิน 200 หน้า) จะถูกเรียกว่า  “การ์ตูนเรื่องสั้น”Ž                 

** แต่ถ้าการ์ตูนขนาด 6 เล่มจบขึ้นไป (หนึ่งเล่มประมาณ 180 หน้า ไม่เกิน 200 หน้า) จะถูกเรียกว่า "การ์ตูนเรื่องยาว"

 

       แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ว่าการ์ตูนที่คุณเขียนจะเป็นการ์ตูนประเภทไหน “การ์ตูนสั้น” หรือ “การ์ตูนเรื่องสั้น”  หรือ “การ์ตูนเรื่องยาว” ก็แล้วแต่  หากว่าเป็นนักอ่านนักเขียนการ์ตูนที่มาจากทางฝั่งยุโรปหรือทางฝั่งอเมริกาหรือเป็นประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักด้วยแล้ว จะเรียก"การ์ตูน"(CARTOON) พวกนี้ว่า"คอมมิค"Ž(COMIC) และจะเรียกตัวนักเขียนการ์ตูนว่า "การ์ตูนนิสต์Ž" (Cartoonist)

* นั้นก็หมายความว่า หากนักเขียนไทยเรานำงานประเภท "การ์ตูนสั้น" หรือ "การ์ตูนเรื่องสั้น" หรือ "การ์ตูนเรื่องยาว" ไปเสนอทางฝั่งยุโรปหรืออเมริกา ก็ต้องเรียกแทนตัวนักเขียนว่าเป็น "การ์ตูนนิสต์" ด้วยเช่นกัน

 

ตัวอย่างการ์ตูน comic จากต่างประเทศ

 

          แต่ ถ้าเป็นนักอ่านนักเขียนการ์ตูนทางแถวเอเชียเรานี้ ส่วนมากแล้วจะได้อิธิพลมาจาก "ประเทศญี่ปุ่น" ซึ่งชาวญี่ปุ่นจะเรียกการ์ตูนประเภทนี้ว่า "มังงะ"Ž (Manga)  และจะเรียกนักเขียนทุกคนว่า "อาจารย์Ž" (Sensei-เซนเซย์)

                แต่ไม่ว่าจะเป็น การ์ตูนคอมมิค หรือการ์ตูนมังงะ ซึ่งอาจจะมีลายละเอียดปีกย่อยที่แตกต่างกันอยู่บ้าง แต่มันก็ตือ การ์ตูนช่องหลายหน้าจบ เหมือนกันครับ

                * แม้ว่าคำว่า "เซนเซย์Ž" ความหมายตรงๆ จะหมายถึงอาจารย์ที่มีหน้าที่สอนหนังสือ แต่คำว่า เซนเซย์Žที่ใช้เรียกนักเขียนการ์ตูน ไม่ได้หมายความว่า นักเขียนคนนั้น จะมีหน้าที่สอนหนังสือนะครับ คำว่า เซนเซย์Ž ที่คนญี่ปุ่นใช้เรียกนักเขียนการ์ตูน ใช้เรียกเพื่อให้เกียรติกับบุคลที่มีความรู้ความสามารถ อย่างเช่น คุณหมอŽ ก็เรียกเซนเซย์ได้เหมือนกัน อ๋อ..ครูที่สอนหนังสือ ก็เรียกว่า เซนเซย์ เหมือนกันครับ ฯลฯ เป็นต้น

                ถ้าอย่างนั้น มีคนๆหนึ่งเป็นชาวญี่ปุ่นมายืนอยู่ตรงหน้าเรา เรามีข้อมูลว่า เขาเป็น เซนเซย์Ž เราจะรู้ไหมว่าเขามีอาชีพอะไร? คำตอบ คือ ไม่รู้ครับ คนญี่ปุ่นถ้าเจอเหตุการณ์อย่างนี้ เขาก็ไม่รู้เหมือนกัน   เขาจะต้องรู้ก่อนว่าคนๆนั้นมีอาชีพอะไร พอรู้แล้วว่าเป็นอาชีพที่มีความรู้ความสามารถ เขาถึงจะสามารถเรียกคนๆนั้นว่า เซนเซย์Ž ได้ ยกตัวอย่าง อาจารย์โทริยามา อากิร่า ผู้เขียนการ์ตูนเรื่อง ดราก้อนบอล  หากเราไม่รู้มาก่อนว่า เขาเป็นนักเขียนการ์ตูน เราก็จะต้องเรียกเขาว่า คุณโทริยามา อากิร่าŽ  แต่หากเรารู้แล้วว่าเขาเป็นนักเขียนการ์ตูน และเราให้เกียรติเขา เราก็สามารถเรียกได้เต็มปากเต็มคำเลยว่า อาจารย์โรริยามา อากิร่าŽ ครับ

                ในส่วนของการ์ตูนไทยเรา ส่วนมากแล้วได้รับอิธิพลมาจากการ์ตูนญี่ปุ่น จึงมีลักษณะเหมือน มังงะŽ มากกว่า  แต่นักเขียนของเราไม่ได้ถูกเรียกว่า อาจารย์ หรือ การ์ตูนนิสต์ นะครับ เรียกแค่ "นักเขียนการ์ตูน"Ž ธรรมดา ๆ แล้วชื่อรวมๆ ที่เรียกการ์ตูนสั้นหรือการ์ตูนเรื่องสั้นเรื่องยาวของเราก็มีนะครับ คือเรียวกว่า "นิยายภาพŽ"  เพราะฉะนั้นหากน้องๆ ที่จะส่งงานเขียนเข้าประกวดกับองค์กรใดก็ตามที่เขาจัดงานประกวดขึ้น หากเจอคำว่า นิยายภาพŽ ไม่ต้องตกใจนะครับ มันคือ การ์ตูนการ์ตูนสั้นหรือการ์ตูนเรื่องสั้นเรื่องยาวนั้นเอง

 

การประกวดของ เซเว่นบุ๊คอวอร์ด จะเห็นว่า มีการประกวดประเภท "นิยายภาพ" รวมอยู่ด้วย (หัวข้อที่ 3) ซึ่งนั้นก็หมายถึง การ์ตูนเรื่องสั้น หรือ การ์ตูนเรื่องยาว นั้นเอง

 

                ** แต่...จริงๆ อีกนั้นแหละ คนไทยเรา มักเรียกรวมๆ งานทุกประเภทว่า "การ์ตูน"Ž ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการ์ตูนแบบไหน ก็จะเรียกว่าการ์ตูนๆๆ จะมีสักคนไหมครับ ที่เวลาไปซื้อ การ์ตูนŽ แล้วบอกกับเจ้าของร้านว่า "พี่ๆ นิยายภาพเรื่องโคนัน เล่ม 5 ออกยัง"Ž หรือ "ขอซื้อนิยายภาพเรื่องดราก้อนบอลเล่มนึงครับŽ" ไม่มีสักคนครับ  ตัวผมเองก็ยังเรียกว่า การ์ตูนŽ เหมือนกันเลยครับ ฮ่าๆๆ ขืนผมไปเรียกแบบนั้น (ทั้งที่มันเป็นคำที่ถูกต้อง) เจ้าของร้านคงมองหน้าผมแล้วหาว่าผมบ้าแน่นอนเลย                                

                อ้าว! อย่างนั้นแสดงว่าเราเรียกผิดซิŽ   ไม่ผิดหรอกครับ คำว่า นิยายภาพŽ น่าจะเป็นภาษาเขียนนทางวิชาการมากกว่าครับ ส่วนคำว่าŽการ์ตูนŽ อันนี้เป็นภาษาพูดเลย ใครๆ ก็รู้จัก  เหมือนคำว่า "กิน"Ž กับ "รับประทาน"Ž  คำว่ารับประทานเป็นภาษาทางวิชาการ ส่วนคำว่ากิน ที่เราพูดกันติดปากก็คือภาษาพูดนะครับ ก็คือใช้ได้ทั้งคู่ แต่ภาษาพูด จะนิยมใช้มากกว่า         

                ยังมีการ์ตูนอีกประเภทหนึ่งที่อยากจะแนะนำคราวๆตรงนี้ครับ คือ การ์ตูนอนิเมชั่นŽ(Animation)นักอ่านบางคนเรียกการ์ตูนประเภทนี้สั้นๆ ว่า การ์ตูนอนิเมะ การ์ตูนอนิเมชั่น ก็คือการนำเรื่องราวของการ์ตูนไปทำด้วยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้เป็นภาพเครื่อนไหว หรือ สรุปสั้นๆ อนิเมชั่นก็คือ การ์ตูนที่มันเคลื่อนไหวได้นั้นแหละ ซึ่งจะทำอย่างไงให้มันเครื่องไหวก็คงต้องไปศึกษากันเอาเองนะครับ ตรงนี้ไม่มีสอน        

 

สัดส่วนของงานเขียน     

                และเพราะต้องเขียนเรื่องที่มีหลายๆหน้าจบนี้แหละครับ นักเขียนจึงต้องมีเรื่องที่จะเขียนก่อน ถึงจะเขียนได้ โดยหลักๆ แล้ว การ์ตูนเรื่องหนึ่ง จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนของเนื้อเรื่อง และส่วนของลายเส้น ถ้าแบ่งเป็นสัดส่วนกันจริงๆแล้ว ก็น่าจะประมาณ 60-40 หรือ 70-30 โดยจะเน้นที่เนื้อเรื่องเป็นหลัก เช่นเนื้อเรื่อง 60% ลายเส้น 40% หรือเน้นที่เนื้อเรื่อง  70% ลายเส้น 30% เราจะเห็นบ่อยๆ ว่าการ์ตูนบางเรื่อง เส้นไม่ค่อยสวยเลย แต่อ่านสนุกมาก คนติดกันมากมาย แต่บางเรื่อง ลายเส้นสวยมากเลย แต่เนื้อเรื่องหวยมาก คนก็ไม่อยากติดตาม เหมือนเราดูหนังแบบเรื่องนี้ อลังการงานสร้างในทุกๆ ด้าน แต่เนื้อเรื่องไม่สนุกเลย หนังเรื่องนี้ก็มีสิทธิ์ถูกนักดูหนังด่าเหมือนกัน...เช่นเดียวกับการ์ตูนครับ เนื้อเรื่องสนุกมีชัยไปกว่าครึ่งŽ  มีกฏเล็กๆ อยู่อีกข้อครับ สำหรับผู้ที่อยากเป็นนักเขียนการ์ตูนมืออาชีพ คือ

                "อย่าเขียนเรื่องที่เราอ่านแล้วเราสนุกอยู่คนเดียว เราต้องเขียนเรื่องให้คนอื่นอ่านแล้วสนุกตามเราไปด้วย"Ž                     

 

       ใช่ครับถ้าเราเขียนแล้วเราอ่านสนุก ลองให้เพื่อนๆ ข้างๆ อ่านดูบ้าง ถ้าเพื่อนๆ บอกว่า สนุก ก็แสดงว่าคุณแต่งเรื่องได้เข้าขั้นแล้ว แต่ถ้าบอกว่าไม่สนุก ลองถามว่าไม่สนุกตรงไหนแล้วนำมาวิเคราะห์ปรับปรุงดูถ้ามันเป็นจริงอย่างที่เพื่อนว่ามา แต่การที่เราให้เพื่อน 2-3 คนอ่านงานของเราตรงนี้ก็ไม่ใช่ว่าจะตัดสินเราได้ว่าการ์ตูนเราสนุกหรือไม่สนุกนะครับ นักเขียนการ์ตูนส่วนมากจึงต้อง มโนŽ กันไปก่อนว่า การ์ตูนของตัวเองต้องสนุกแน่ ตูแต่งสุดฤทธิ์แล้ว แต่จะสนุกจริงหรือไม่  เมื่องานของเราถูกกระจายออกไป ผู้ที่ได้อ่านงานของเราอันแท้จริงนั้นแหละ ถึงจะตอบได้ว่า งานของเรา สนุกŽ หรือ ไม่สนุกŽ ครับ            

                แล้วอย่างนี้จะเขียนเรื่องอะไรดีให้มันสนุก!!..ผมก็ไม่รู้หรอกครับว่าเรื่องแบบไหนสนุก ถ้ายังไม่ได้อ่านงานในจินตนาการของคนเขียนของคนนั้นๆ แต่จากประสบการณ์ก็พอจะแนะนำให้คุณ "เขียนเรื่องให้เป็นเรื่องŽ" ให้สนุกได้ครับ  แต่ต้อง ติดตามตอนต่อไป....

 

 

"หากคิดที่จะเป็นนักเขียนการ์ตูนแล้ว ควรหมั่นฝึกฝนในการวาดไว้ให้เยอะๆ หัดใช้จินตนาการแต่งเรื่องให้ได้มากๆ  เพราะว่าถ้าคุณไม่ลงมือทำแล้ว สิ่งที่คุณคิดไว้หรือหวังไว้มันจะไม่มีค่า"                                               

------------------------------------------------------------------------------------------------------------

นอกเรื่อง 0  

เพลด : แม่พิมพ์ ที่เอาไว้สำหรับพิมพ์หนังสือ

 

นอกเรื่อง 1

 ถ้าชอบบทความนี้ อย่าลืมกด "ถูกใจ" (รูปหัวใจ) แต่ถ้าติดใจ อย่าลืมกด "ติดตาม" ด้วยนะครับ

 

นอกเรื่อง 2

ใครยังไม่ได้ไปอ่าน "กว่าจะได้เป็นนักเขียนการ์ตูน"  (บทนำ)  ก็เข้าไปอ่านได้เลยนะครับตามนี้
http://www.wecomics.in.th/blogs/detail-page/50

ใครยังไม่ได้อ่าน บทที่ 1 เขียนเรื่องให้เป็นเรื่อง ตอนที่ 2 : เขียนเรื่องอะไรดี
http://www.wecomics.in.th/blogs/--1--2/detail-page/149

 



 

 

 

 

 

ประเภท: บันทึก

บล็อกที่น่าจะชอบ

14/12/2015
กลับมาพบกันอีกครั้งกับปากกาสีนะคะ ในวันนี้ปากกาสีจะมารีวิว ปากกาตัดเส้น ที่ตัวเองใช้อยู่ค่า ซึ่งตัวปากกาที่เราจะรีวิวในวันนี้จะมีทั้งหมด 6 แบรนด์ด้วยกันค่ะถ้างั้นไม่พูดพล่ามทำเพลงอะไรมาก ขอเริ่มการรีวิวเลยแล้วกันค่ะเริ่มจากตัวแรก PIGMA MICRON แบรนด์นี้เป็
28/02/2017
ใน part นี้ จะพูดถึงเรื่องของ การวาดทรงผมก่อนนะครับ *0*ถ้าพร้อมจะ เกาหัวและมึนสารระเหย ของ how to นี้แล้ว ก็เริ่มอ่านเลยคนับ-0--------------------... สงสัยอะไร หรือ อยากคุยเล่น คอมเมนท์กันให้เต็มที่เลยครับใครมีเรื่องอะไรอยากให้เขียน ลองเสนอกันเข้ามาได้นะค
10/05/2018
ว่าด้วยความงามของผู้หญิง ที่หากจะหาสิ่งได้มาเปรียบมาบรรยายให้เห็นถึงความสวยงามได้อย่างลึกซึ่ง คงจะหนีไม่พ้นกลอนในวรรณคดีไทย ที่เปรียบรูปร่างหน้าตา ผิวพรรณ กับสิ่งต่างๆเพื่อบรรยายความสวยของผู้หญิงจนคนฟังคล้อยตามเห็นภาพสาวงามที่ใครก็เทียบไม่ได้ งามแท้งามจริ
05/09/2016
★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★มาสร้างอะไหล่ไส้เมาส์ปากกาใช้ถึงชาติหน้ากันเถอะ★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★ หลายๆคนเวลาซื้อเมาส์ปากกามาแล้วใช้ไปสักพักก็จะมีปัญหาไส้เม้าส์ปากกาสึก ต้องเปลี่ยนใหม่เ
ส่ง
ความคิดเห็น ()